มะละกอ Papaya
มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด
ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก

การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ


โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด

การดูแลรักษามะละกอ

  1. การใ้ห้ปุ๋ย
    - ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน
    - ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
  2. การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด
  3. การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน
  4. การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล

การเก็บเกี่ยว

มะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม


สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะละกอวันนี้เรามีอีกหนึ่งสรรพคุณของมะละกอและประโยชน์ของมะละกอมาบอกเล่าเก้าสิบให้ทุกคนผู้รักสุขภาพได้ฟังกัน หรือใครก็ตามที่ชอบนึกยี้ผลไม้อย่างมะละกอล่ะก็อาจจะต้องเปลี่ยนใจเมื่อได้รู้ถึง สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ และ สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ ที่เรานำมาบอกกันในวันนี้นั่นก็คือ ผลไม้อย่างมะละกอสุกนั่นเองค่ะ หากเป็นมะละดิบอย่างส้มตำหลาย ๆ คนคงจะไม่ค่อยปฏิเสธแต่หากเป็นเป็นมะละกอสุกหลายคนบ่นร้องยี้ซะงั้น นั้นเพื่อให้คุณเปลี่ยนใจหันมารับประทานมะละกอสุขภันมากขึ้นก็มาดู สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ กันเลยค่ะ



สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะละกอ


สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะละกอ


มะละกอสุก ๆ เนื้อสีส้มแดงนี่แหละขอบอกว่าเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดของความมีประโยชน์ทีเดียว ใครไม่กินก็บอกได้เลยว่า คุณกำลังพลาดของดีชนิดที่สุขภาพไม่น่าให้อภัยเลย มะละกอสุกกินง่ายกว่ามะละกอดิบตั้งเยอะสามารถปอกเปลือกแล้วลำเลียงลงกระเพาะได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการปรุงแต่งแต่อย่างใด เป็นอาหารบริสุทธิ์ที่ธรรมชาติบรรจงสร้างมาให้เรา ฉะนั้นเรามาว่ากันถึงความอร่อยและมีประโยชน์ของมะละกอกันเลยดีกว่า

นอกจากเนื้อหวาน ๆ แสนอร่อยแล้วทุกส่วนของมะละกอยังสามารถนำมาใช้ทำยาได้ ผลการวิจัยพบว่า ประโยชน์ของมะละกอมีอยู่มากมายตั้งแต่ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี บรรเทาอาการท้องผูกซึ่งเป็นที่มาของโรคริดสีดวงทวาร ป้องกันอาการตับโต เป็นยาบำรุงหัวใจ ตับ และสมอง

สรรพคุณและประโยชน์ของมะละกอยังเผื่อแผ่ไปถึงเด็กทารกที่ดูดนมมารดาอีก เพราะช่วยกระตุ้นให้แม่มีน้ำนมมากขึ้นป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในลำไส้ เรื่องความสวยงาม มะละกอยังมีเอนไซม์ที่ช่วยบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี ใครอยากมีผิวหน้าเนียนขาวนุ่มชุ่มชื่นก็นำมะละกอสุกครึ่งถ้วยผสมกับน้ำผึ้ง แท้ 1 ช้อน นมสดอีก 1 ช้อน ปั่นเข้าด้วยกันเป็นครีมข้น ทาให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ 10 - 15 นาทีแล้วล้างออก เท่านี้ก็เห็นผลทันตาและทันใจทีเดียว
ชามะละกอ คือการนำเอามะละกอดิบมาปอกเปลือก แล้วหั่นเนื้อมะละกอใส่หม้อเติมน้ำต้มให้เดือดแล้วตักเนื้อมะละกอ ออกไปเอาเฉพาะน้ำมาใช้ชงชาเพื่อดื่มแทนชาทั่วไป
ประโยชน์เมื่อดื่มชามะละกอจะเป็นการล้างลำไส้โดยไม่ต้องสวนทวารช่วย
ล้างระบบดูดซึม คือล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ อันเนื่องมาจากการกินอาหารผัด
น้ำมันเป็นประจำคราบไขมันจะเกาะตัวที่ผนังลำไส้เป็นกาวเหนียวจึงเกิดการขัด ขวางการดูดซึมสารอาหาร และวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
เมื่อระบบดูดซึมไม่ดีหรือดูดซึมไม่ได้เวลากินอาหารก็ได้แค่อิ่มแต่ไม่ได้สาร อาหาร เมื่อเป็นอย่างนี้นานวันเข้าความเจ็บป่วยก็จะเข้ามาเยือน เมื่อร่างกายปกติดีไม่เจ็บไม่ป่วยก็ควรล้างลำไส้ไว้บ้างเพื่อล้างคราบน้ำมัน เก่าที่เคยกินอาหารผัดน้ำมันมานานหลายปี
สูตรชามะละกอ
-มะละกอดิบไม่อ่อนเกินไปครึ่งลูก
-ชาเขียว หรือชาจีน หรือชาใบหม่อน อย่างใดอย่างหนึ่ง
วิธีทำ
ปอกเปลือกมะละกอล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นแบบชิ้นฟักไม่ถึงครึ่งลูก (ประมาณ 3 กำมือ ) ใส่หม้อเติมน้ำ 3 ลิตร ตั้งไฟ จะเติมดอกเก๊กฮวย ใบเตย หรือรากเตย ก็ใส่ลงไปพร้อมกับมะละกอดิบพอน้ำเริ่มเดือดได้สัก 3 นาทีก็ยกลงได้อย่าต้มมะละกอจนเนื้อเละต่อไปก็ตักมะละกอและดอกเก๊กฮวยออกให้ เหลือแต่น้ำเอาน้ำร้อนที่เหลือทั้งหมดนั้นไปชงชาใส่ใบชาประมาณครึ่งกำมือ มากหรือน้อยตามความต้องการ ( ห้ามแช่ใบชาเกิน 5 นาที เพราะถ้าเกิน 5 นาที สารแทนนินของใบชาจะออกมาจากใบชา กินแล้วทำให้ท้องผูกนอนไม่หลับ ) แล้วกรองเอากากใบชาทิ้งไปทั้ง หมดตั้งทิ้งไว้ให้อุ่นหรือเย็นก็ดื่มได้เลยหรือจะบรรจุขวดเก็บไว้ในตู้เย็น ก็ได้ เก็บได้ประมาณ 3 วัน )
สารของมะละกอจะเกิดการถักทอกับสารของใบชา ทำให้ช่วยย่อยไขมันและล้างไขมันออกจากผนังลำไส้ ควรดื่มเพื่อล้างเป็นประจำ ดื่มแทนน้ำอัดลมได้ ( เด็ก, ผู้ใหญ่ดื่มได้ ไม่ต้องสงสัยรอโทรถามใคร )
ถ้าไม่ล้างลำไส้ก็เปรียบเหมือนกินข้าวไม่ล้างจานแล้วใช้จานใบเก่าที่ไม่ล้างเอามาใส่ข้าวกินใหม่
เมื่อล้างลำไส้แล้วก็ควรกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อไปบำรุงร่างกายด้วย ถ้าหลีกเลี่ยงอาหารผัดน้ำมันไม่ค่อยได้ก็กินเท่าที่จำเป็นคือกินให้น้อยลง แล้วกินชามะละกอไปล้างลำไส้ทุกวันเมื่อมีเวลาว่าง
การทำชามะละกอกินเพื่อล้างลำไส้ให้ได้ประโยชน์ ที่จริงแล้วไม่ควรเติมน้ำตาลยกตัวอย่างเช่น เรากินข้าวขาหมู แล้วกินของหวานหรือชาที่เติมน้ำตาล มันจะทำให้ไขมันกลายเป็นไขมันฝ่ายร้ายได้ หรือมื้อไหนที่เรากินไขมัน เช่น เนื้อติดมัน ก็ไม่ควรกินของหวานตามเข้าไป ควรกินกระเทียมเป็นตัวลดโคเลสเตอรอลแล้วกลับมาบ้านเราก็กินชามะละกอ เพื่อล้างไขมันในลำไส้ออกไป
'สุขภาพดีหาซื้อไม่ได้ อยากได้ต้องทำเอง'
ด้วยความปรารถนาดีจาก แผนกสวัสดิการและพนักงานสัมพันธ์
ข้อมูลจาก คู่มือเพื่อสุขภาพดี ราศีแจ่มใส